คลังบทความของบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำความรู้จักประเทศจีน ตอนที่ 2

การเมืองและการปกครองประเทศจีน

              การปกครองในยุคที่บทบาทของการค้าของประเทศจีนขยายอิทธิพลสำคัญในระดับภูมิภาค ความรู้ความเข้าใจเศรษฐกิจจีนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำการค้ากับจีน จีนในวันนี้ต่างกับจีนเมื่อยุคเปิดประเทศอย่างสิ้นเชิง ปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของจีนในปัจจุบันนั้นมาจากระบบการปกครองของจีน การศึกษาเพื่อเข้าใจเศรษฐกิจและการค้าจีนให้ลึกซึ้งนั้นจึงควรมีความรู้ความเข้าใจระบบการเมืองการปกครองจีนซึ่งเป็นกำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาของประเทศจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน แบ่งการปกครองเป็นสองระดับ ได้แก่ การบริหารส่วนกลาง และการบริหารส่วนภูมิภาค การบริหารส่วนกลาง คือ รัฐบาลกลางของประชาชน หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี คณะมุขมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ประธานคณะกรรมการต่าง ๆ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบบัญชี และเลขาธิการ รัฐบาลกลางของจีนมีอำนาจเหนือองค์กรบริหารส่วนภูมิภาคท้องถิ่นทั้งหมด

การบริหารส่วนภูมิภาค รัฐบาลส่วนภูมิภาคระดับต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลประชาชนระดับมณฑล รัฐบาลประชาชนระดับท้องที่ รัฐบาลประชาชนระดับอำเภอ และรัฐบาลประชาชนระดับตำบลหมู่บ้าน

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีรูปแบบการปกครองในพื้นที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้

มณฑล แบ่งเป็น 23 มณฑล ซึ่งรวมไต้หวันอยู่ด้วย คือ เหอเป่ย ชานสี เหลียวหนิง จี๋หลิน เฮยหลงเจียง เจียงซู เจ้อเจียง อานหุย ฝูเจี้ยน เจียงซี ชานตง เหอหนาน หูเป่ย หูหนาน กวางตุ้ง ไห่หนาน เสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน ส่านซี กานซู ชิงไห่
เขตปกครองตนเอง 5 เขตปกครองตนเอง คือเขตที่พลเมืองส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ มองโกเลียใน (ชนชาติมองโกล) หนิงเซี่ย (เขตที่นับถือศาสนาอิสลาม) ซินเจียง (ชนชาติอุยกูร์)  กวางสี (ชนชาติจ้วง)  และทิเบต (ชนชาติทิเบต)
มหานคร 4 มหานคร มีสถานะเทียบเท่ามณฑล แต่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง คือ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครเทียนจิน และนครฉงชิ่ง
เขตบริหารพิเศษ 2 เขต ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของจีน แต่คงวิถีการปกครองและเศรษฐกิจของตนเอง ตามหลักการ"หนึ่งประเทศ สองระบบ"
ในแต่ละมณฑล (ยกเว้นไต้หวัน) เขตปกครองตนเองและมหานครเหล่านี้ จะมีผู้ว่าการมณฑล ประธานเขต หรือนายกเทศมนตรีของมหานคร ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสภาประชาชนในแต่ละมณฑล และต้องได้รับความเห็นชอบของพรรคคอมมิวนิสต์ ให้เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องภายในมณฑลหรือเขตการปกครองของตนเอง

อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะแต่งตั้งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ไปกำกับดูแลด้วย ถือเป็นการปกครองจากรัฐบาลกลางอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์นี้ จะมีอำนาจเหนือผู้ว่าการมณฑล ประธานเขตการปกครองและนายกเทศมนตรีของมหานคร สำหรับผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า แม้จะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากพรรคคอมมิวนิสต์เสียก่อนจึงจะเข้ารับตำแหน่งได้

พรรคคอมมิวนิสต์จีน

พรรคคอมมิวนิสต์จีน Communist Party of China

 ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2464 (ค.ศ. 1921) ที่นครเซี่ยงไฮ้ และมีอำนาจปกครองประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี 2492 (ค.ศ. 1949) มา จนกระทั่งปัจจุบัน เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจปกครองจีนแบบเบ็ดเสร็จที่แท้จริง รัฐบาลและรัฐสภา มีหน้าที่ปฏิบัติตามมติและนโยบายที่พรรคกำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ลำดับอาวุโสในพรรคคอมมิวนิสต์มีความสำคัญเหนือตำแหน่งอื่น และเป็นตัวบ่งชี้อำนาจของผู้นำแต่ละคน

ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคมาแล้ว 16 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปลายปี 2550

คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Central Committee) เป็นตัวแทนสมัชชาพรรคแห่งชาติในการนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติ โดยคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีการประชุมเต็มคณะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ตามคำสั่งของกรมการเมือง (Politburo) ส่วนสมาชิกกรมการเมืองมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน และสมาชิกถาวรกรมการเมืองมีการประชุมเป็นประจำทุกอาทิตย์

ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกประมาณ 70.8 ล้านคน (สถิติปี 2549) กระจายอยู่ทั่วประเทศและจะคัดเลือกผู้แทนระดับชาติจากมณฑลต่าง ๆ จากกองทัพ และจากองค์กรของรัฐรวมประมาณ 2,100 คน เข้าร่วมการประชุมสมัชชาพรรค และในจำนวนนี้จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค ชุดปัจจุบันมีสมาชิก 198 คน และสมาชิกสำรองอีก 158 คน จากจำนวนสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค 198 คน จะได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองจำนวน 25 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิก 24 คน และสมาชิกสำรอง 1 คน และจากจำนวนสมาชิก 24 คน จะได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกถาวรประจำกรมการเมืองจำนวน 9 คน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน และหนึ่งในจำนวน 9 คน จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด และจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ

สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ

สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ Chinese People’s Political Consultative Conference – CPPCC


สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ เปรียบเสมือนสภา "พี่เลี้ยง" ของ สภาประชาชนแห่งชาติ หน้าที่ที่สำคัญของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ คือ เป็นที่ปรึกษาทางการเมือง ควบคุมดูแลด้านประชาธิปไตย เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการเมือง และเสนอแนะความคิดเห็นด้านการเมืองในขอบข่ายของพรรคการเมือง สมาคมและกลุ่มชนส่วนน้อยต่างๆ มีหน้าที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของสภาประชาชนแห่งชาติ

สมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มีการประชุมเต็มคณะปีละ 1 ครั้ง ควบคู่ไปกับการประชุมเต็มคณะของสภาประชาชนแห่งชาติ สมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติแต่ละคนมีวาระ 5 ปี สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติสมัยปัจจุบันนับเป็นชุดที่ 10 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะอยู่ในวาระจนถึงปี 2551

ปัจจุบัน สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มีประธาน คือ นายเจีย ชิ่งหลิน ซึ่งมีอาวุโสเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ มีรองประธาน 27 คน การแต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการ และกรรมการประจำของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มาจากการเสนอชื่อของคณะผู้แทนพรรค การเมือง สมาคม ชนส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ และตัวแทนคณะบุคคลต่างๆ และผ่านการคัดสรรจากที่ประชุมคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ เต็มคณะ ในลำดับสุดท้าย

สภาที่ปรึกษาทางการเมือง มีคณะกรรมาธิการกำกับดูแลงานด้านต่าง ๆ 9 คณะ ดังนี้

คณะกรรมาธิการทั่วไป มีหน้าที่เสนอญัตติ
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ
คณะกรรมาธิการด้านประชากร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมาธิการด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สุขภาพและกีฬา
คณะกรรมาธิการด้านสังคมและกฎหมาย
คณะกรรมาธิการด้านจริยธรรมและศาสนา
คณะกรรมาธิการดูแลความสัมพันธ์กับฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเล
คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศ
คณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์
สภาประชาชนแห่งชาติ

สภาประชาชนแห่งชาติ National People's Congress - NPC

สภาประชาชนแห่งชาติ มีหน้าที่ออกกฎหมายและแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งบประมาณของรัฐ และมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ประธานศาลสูงสุด และตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการทหารแห่งชาติสภาประชาชนแห่งชาติ มีประธาน คือ นายอู๋ ปางกั๋ว ซึ่งมีอาวุโสเป็นลำดับที่ 2 ของพรรคคอมมิวนิสต์และของประเทศ รองจากประธานาธิบดี มีรองประธาน 15 คน และมีสมาชิกทั้งหมด 2,985 คน การ เลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ ทำตามลำดับขั้น คือ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเลือกตั้งผู้แทนของตนเอง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกจะทำการเลือกตั้งต่อไปเป็นขั้นๆ อีก 5 ขั้น ตามลำดับคือ

ระดับตำบลและหมู่บ้าน
ระดับอำเภอ
ระดับเมือง
ระดับมณฑลและเขตปกครองตนเอง
ระดับชาติ
สภาประชาชนแห่งชาติมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง สมาชิกแต่ละคนมีวาระ 5 ปี สภาประชาชนแห่งชาติสมัยปัจจุบันนับเป็นชุดที่ 10 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะอยู่ในวาระจนถึงปี 2551

องค์กรสำคัญที่เป็นหัวใจของสภาประชาชนแห่งชาติ คือ คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) ซึ่ง เป็นหน่วยงานบริหารที่มีอำนาจร่างกฎหมาย แทนสภาประชาชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานสภาประชาชนแห่งชาติ รองประธาน เลขานุการ และสมาชิกจำนวน 155 คน มีการประชุมเป็นประจำทุก 2 เดือน

สภาประชาชนแห่งชาติ มีคณะกรรมาธิการกำกับดูแลงานด้านต่างๆ 9 คณะ ดังนี้

คณะกรรมาธิการชนชาติ
คณะกรรมาธิการกฎหมาย
คณะกรรมาธิการกิจการภายในและยุติธรรม
คณะกรรมาธิการการคลังและเศรษฐกิจ
คณะกรรมาธิการการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และสาธารณสุข
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
คณะกรรมาธิการกิจการชาวจีนโพ้นทะเล
คณะกรรมาธิการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
คณะกรรมาธิการกิจการการเกษตรและชนบท
คณะรัฐมนตรีจีน
คณะรัฐมนตรีจีน State Council

คณะรัฐมนตรีจีน เป็นองค์การบริหารที่สำคัญที่สุดของ ประเทศ มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งออกโดยสภาประชาชนแห่งชาติ และควบคุมดูแลงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลกิจการต่างประเทศและการทำสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจประกาศสภาวะฉุกเฉินในมณฑลต่างๆ และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารประเทศด้วยคณะรัฐมนตรีจีนมีนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 4 คนและมีมนตรีแห่งรัฐ (state councilor) ซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่ารองนายกรัฐมนตรีแต่สูงกว่ารัฐมนตรี จำนวน 5 คน รับผิดชอบกำกับดูแลงานของกระทรวงต่างๆ

คณะรัฐมนตรีจีน เป็นองค์การบริหารที่สำคัญที่สุดของ ประเทศ มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งออกโดยสภาประชาชนแห่งชาติ และควบคุมดูแลงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลกิจการต่างประเทศและการทำสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจประกาศสภาวะฉุกเฉินในมณฑลต่างๆ และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารประเทศด้วยคณะรัฐมนตรีจีนมีนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 4 คนและมีมนตรีแห่งรัฐ (state councilor) ซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่ารองนายกรัฐมนตรีแต่สูงกว่ารัฐมนตรี จำนวน 5 คน รับผิดชอบกำกับดูแลงานของกระทรวงต่างๆ

คณะรัฐมนตรีจีนประกอบด้วยกระทรวงและหน่วยงานในระดับกระทรวง 28 หน่วยงาน ดังนี้

กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงกลาโหม
คณะกรรมาธิการวางแผนพัฒนาการแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
คณะกรรมาธิการกิจการชนชาติ
กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน
กระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ
กระทรวงตรวจสอบ
กระทรวงกิจการพลเรือน
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงบุคลากร
กระทรวงแรงงานและประกันสังคม
กระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
กระทรวงการก่อสร้าง
กระทรวงรถไฟ
กระทรวงคมนาคม
กระทรวงกิจการโทรคมนาคมและสารสนเทศ
กระทรวงชลประทาน
กระทรวงเกษตร
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมาธิการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ
ธนาคารประชาชนจีน (ธนาคารชาติ)
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินสำหรับการดำเนินนโยบายของจีนต่อชาวจีนที่มิได้อยู่ในแผ่นดินใหญ่
คณะรัฐมนตรีจีน มีหน่วยงานที่วางนโยบายและดูแลเฉพาะด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องที่เหล่านั้น คือ ฮ่องกงและมาเก๊า (Hong Kong and Macao Affairs Office) ไต้หวัน (Taiwan Affairs Office) และชาวจีนโพ้นทะเล (Overseas Chinese Affairs Office)

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีจีนยังรับผิดชอบดูแลหน่วยงานอื่นๆ อีกมาก ที่สำคัญ อาทิ สำนักข่าวซินหัว (Xinhua News Agency) ซึ่ง เป็นแหล่งข่าวของรัฐบาล สภาวิทยาศาสตร์ สภาสังคมศาสตร์ สภาวิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเงินและการคลังของประเทศอีกด้วย

ระบบศาลของจีน

ระบบศาลของจีน

จีนมีศาลประชาชนสูงสุด (Supreme People’s Court) เป็น องค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการพิพากษา มีอิสระในการใช้อำนาจพิพากษาพิจารณาความ ในขณะเดียวกันก็เป็นองค์กรสูงสุดที่ควบคุมตรวจสอบงานพิพากษาของศาลประชาชน ท้องถิ่นระดับต่างๆ มีหน้าที่พิพากษาคดีที่สำคัญ ตามที่กฎหมายกำหนด คดีที่มีการอุทธรณ์จากศาลต่างๆ และคดีที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ตีความกฎหมายต่างๆ พิพากษาโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ ศาลประชาชนสูงสุดยังมีอำนาจควบคุมงานของศาลท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งสามารถนำคดีที่ผ่านการพิพากษาจากศาลท้องถิ่นแล้วมาพิจารณาใหม่ หรือสั่งให้ศาลเหล่านั้นทำการพิพากษาอีกครั้งได้

ในระดับภูมิภาค มีศาลประชาชนสูงสุดในแต่ละมณฑล เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ซึ่งแบ่งเป็น ศาลประชาชนขั้นสูง ขั้นกลาง และขั้นพื้นฐาน ซึ่งศาลประชาชนสูงสุดมีอำนาจเหนือศาลภูมิภาคทั้งหมด

สำนักงานอัยการ

โครงสร้างของสำนักงานอัยการของจีนแบ่งออกเป็น 4 ระดับขั้น คือ ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง ขั้นสูง และสำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน


สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน (Supreme People’s Procuratorates) เป็นองค์กรตรวจสอบสูงสุดของจีน เป็นตัวแทนของรัฐในการใช้อำนาจตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ ภาระหน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎหมายของสำนักงานอัยการท้องถิ่น ระดับต่างๆ รวมทั้งสำนักงานอัยการเฉพาะด้าน สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชนอยู่ภายใต้คณะกรรมการประจำของสภาประชาชนแห่งชาติ

ในระดับภูมิภาค จีนมีสำนักงานอัยการซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะในแต่ละท้องที่ ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน สำนักงานอัยการท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักงานอัยการทหาร สำนักงานอัยการ เป็นองค์กรควบคุมฝ่ายตุลาการของจีน ทำหน้าที่ตรวจสอบคดีที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ คดีที่ทำให้เกิดความแตกแยกในชาติ คดีที่มีโทษร้ายแรง เป็นต้น ทั้งยังทำการพิจารณาคดีความที่ทางสันติบาลได้ทำการสืบสวนแล้ว เพื่อตัดสินว่าจะจับกุมหรือ ส่งฟ้องหรือไม่ สำนักงานอัยการยังทำหน้าที่ยื่นฟ้องต่อศาล หรือสนับสนุนการฟ้องในคดีอาญาที่ได้ตรวจสอบแจ่มชัดแล้ว นอกจากนี้ จะทำการควบคุมตรวจสอบความชอบธรรม ของการเคลื่อนไหวในองค์การสันติบาล ศาลประชาชน สถานจองจำ สถานที่ควบคุมดูแลและองค์กรเพื่อการใช้แรงงานเป็นต้น

ระบบทหารและการป้องกันประเทศ

โครงสร้างทหารของจีน


จีนมีคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ (Central Military Commission) เป็น องค์กรสูงสุด ในการควบคุมกำลังติดอาวุธทั้งหมดทั่วประเทศจีน คณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ จะได้รับการเสนอชื่อจากพรรคคอมมิวนิสต์ และมักเป็นบุคคลเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อให้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในพรรค ซึ่งก็จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนด้วยในเวลาเดียวกัน ปัจจุบัน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ คณะกรรมการกลางด้าน การทหารแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน 3 ตำแหน่ง และกรรมการ 7 ตำแหน่ง ใช้ระบบรับผิดชอบโดยประธาน เป็นผู้วางนโยบายและมีอำนาจสูงสุด วาระของกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติในแต่ละสมัย มีวาระ 5 ปี แต่ไม่ได้จำกัดจำนวนสมัยของการดำรงตำแหน่งของประธาน รองประธาน และกรรมการ

จีนมีคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ (Central Military Commission) เป็น องค์กรสูงสุด ในการควบคุมกำลังติดอาวุธทั้งหมดทั่วประเทศจีน คณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ จะได้รับการเสนอชื่อจากพรรคคอมมิวนิสต์ และมักเป็นบุคคลเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อให้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในพรรค ซึ่งก็จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนด้วยในเวลาเดียวกัน ปัจจุบัน นายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ คณะกรรมการกลางด้าน การทหารแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน 3 ตำแหน่ง และกรรมการ 7 ตำแหน่ง ใช้ระบบรับผิดชอบโดยประธาน เป็นผู้วางนโยบายและมีอำนาจสูงสุด วาระของกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติในแต่ละสมัย มีวาระ 5 ปี แต่ไม่ได้จำกัดจำนวนสมัยของการดำรงตำแหน่งของประธาน รองประธาน และกรรมการ


กองกำลังติดอาวุธของจีน

1. กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (People’s Liberation Army – PLA)

อยู่ภายใต้การนำของคณะกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติ ภาระหน้าที่หลักคือ ทำการสู้รบเพื่อพิทักษ์และปกป้องประเทศชาติและประชาชน และยังมีภาระในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมในยามจำเป็นด้วย และสำหรับกองหนุนในยามปกติต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมอย่างสม่ำเสมอ และมีหน้าที่เช่นเดียวกับกองทหารประจำการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของ สังคม รัฐบาลจะประกาศระดมพลให้กองหนุนเข้าประจำการในกองทหารเพื่อรับใช้ชาติ ต่อเมื่อประเทศอยู่ในภาวะสงคราม

ปัจจุบัน กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนมีกองกำลังทั้งหมด 2.3ล้านนาย แบ่งเขตความรับผิดชอบออกเป็น 7 ภาคทหาร มีกองกำลังทางบก 1.59 ล้านนาย กองกำลังทางเรือ 270,000 นาย กองกำลังทางอากาศ 350,000 นาย หน่วยบัญชาการขีปนาวุธยุทธศาสตร์ (Second Artillery Force) 90,000 นาย นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยหน่วยงานด้านการศึกษา เช่น วิทยาลัยเทคโนโลยีการทหาร (Academy of Military Sciences) มหาวิทยาลัยการป้องกันประเทศ (National Defense University) และมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีการทหารแห่งชาติ (National University of Defense Technology)

2. กองกำลังติดอาวุธของตำรวจประชาชนจีน (Armed Police Force)

อยู่ภายใต้การนำร่วมกันของคณะกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติและคณะ รัฐมนตรี มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ คุ้มครองบุคคลและสถานที่ที่สำคัญ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย และปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับกองทัพในยามสงคราม

3. กองกำลังประชาชน (Militia)

อยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งตามกฎหมายทหารของจีนได้กำหนดว่า ชายที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นทหารแต่ไม่ได้เข้าเป็นทหารประจำการ ต้องเข้าอยู่ในสังกัดของกองกำลังประชาชน ทำหน้าที่เป็นกำลังกองหนุนของกองทัพ มีหน้าที่รับผิดชอบการตระเตรียมเสบียงและเครื่องใช้เพื่อการสู้รบ ในยามรบมีภาระหน้าที่สนับสนุนการสู้รบและทดแทนกำลังให้กองกำลังหลัก ในยามสงบมีหน้าที่ช่วยเหลือในการรักษาระเบียบของสังคม ทั้งนี้ กองกำลังประชาชนจะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การชี้นำของกองทัพ

ที่มา : การเมืองการปกครองจีน
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/politics-china.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น