คลังบทความของบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โอกาสธุรกิจ-ด้านเกษตร ตอน 1


ศึกษาโอกาสสินค้าเกษตรไทยในจีน

ปัจจุบันรูปแบบการบริโภคของชาวจีนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมืองสำคัญระดับชาติสู่เมืองสำคัญระดับมณฑล เดิมตลาดผู้บริโภคอาหารที่นำเข้าส่วนใหญ่อยู่ในเมืองเศรษฐกิจสำคัญระดับชาติ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง หรือมณฑลอยู่ตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศ แต่ปัจจุบัน ในมณฑลตอนในและหัวเมืองชั้นรองต่างมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการพัฒนาความเป็นเมือง รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดชนชั้นกลางและเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากมายกระจายอยู่ตามหัวเมืองชั้นรอง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้บริโภคชาวจีนจำนวนไม่น้อยเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคอาหาร จากการรับประทานเพื่อ “อิ่มท้อง” ในอดีต เป็นการบริโภคที่เน้นรสชาติและคุณภาพของอาหารมากขึ้น ตลาดสินค้าเกษตรหลายชนิดที่นำเข้าจากไทย เช่น ผลไม้ จึงได้ขยายไปสู่เมืองชั้นรองและพื้นที่ตอนในของจีนมากยิ่งขึ้นดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคในเมืองดังกล่าวมีโอกาสรับรู้สินค้าใหม่ๆ และมีความต้องการบริโภคสินค้าที่นำเข้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้บริโภคในเมืองสำคัญระดับมณฑลไม่ค่อยได้รู้จักสินค้าต่างประเทศและร้านที่จำหน่ายมีไม่มากนัก จึงคาดการณ์ว่า การขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยที่นำเข้าไปสู่เมืองสำคัญระดับมณฑลจะเป็นแนวโน้มของตลาดต่อไป ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของ สินึค้าเกษตรไทย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ไทยหลากหลายชนิด หรือข้าวหอมมะลิที่จะมีโอกาสได้รับความนิยมมากขึ้นจากผู้บริโภคชาวจีน

ตามสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) จีนเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขณะที่ไทยตามมาในอันดับสอง เห็นได้ว่าทั้งสองประเทศมีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน ทั้งระบบการผลิตดั้งเดิม ระดับเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ตลาดการส่งออก และโครงสร้างตลาด เหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน สินค้าเกษตรไทยในจีนมีมีโอกาสเป็นอย่างไร ล้วนเป็นประเด็นคำถามที่น่าติดตาม สินค้าเกษตรไทยและจีนบางชนิดมีความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทผลไม้สด สำหรับไทยแล้ว สินค้าเกษตรเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่ไทยต้องพึ่งพาเพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าที่ต้องใช้แรงงานการผลิตเข้มข้น จีนกับไทยต่างคาดหวังว่าจะครอบครองตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ และต่างก็มีตลาดการส่งออกกระจุกตัวในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาความเป็นไปของการแข่งขันทางการค้าของสินค้าเกษตรไทย-จีนสองประเทศ พบว่าเป็นไปในลักษณะทวิภาคี โดยมีแนวโน้มว่า จีนเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยสูงขึ้น จีนกำลังพึ่งพาไทยมากขึ้นและเริ่มลดความได้เปรียบต่อไทยลงในสินค้าชนิดนี้ ตัวเลขการค้าระหว่างสองประเทศ จีนเป็นฝ่ายเสียดุลเพิ่มขึ้น สาเหตุเป็นเพราะจีนกำลังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ความต้องการสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบจึงสูงขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้นไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่มีข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์และมีศักยภาพในการผลิตพืชและผลไม้เมืองร้อน จึงเป็นทางเลือกที่ดีให้แก่จีนในฐานะแหล่งผลิตของสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ผลไม้ไทย น้ำมันปาล์ม ยางพารา ไม้ท่อน ไม้แปรรูป เป็นต้น จีนไม่มีข้อได้เปรียบในการผลิตสินค้าเหล่านี้ ไทยจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเกื้อหนุนภาวะขาดแคลนสินค้าเกษตร อันเป็นผลจากความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของจีน

ที่มา : ศึกษาโอกาส
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/business-opportunity/index.php?SECTION_ID=607

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น